วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

Individual Project :TOKYO FRUIT:

Individual Project
 ISSUU.COM - ARTD3302 - Peerati - Individual Project

เป็นการออกแบบสำหรับขนมโตเกียวที่เกี่ยวข้องกับผลไม้ จึงคิดออกแบบบรรจุภัณฑ์และกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ในแง่มุมที่แตกต่างมาเป็นขนมโตเกียวผลไม้

สเก็ตไอเดีย

















วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

จัดงานแสดงโครงการ: การศึกษาและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าของผู้ประกอบการสินค้าในแขวงจันทรเกษม

จัดงานแสดงโครงการ: การศึกษาและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าของผู้ประกอบการสินค้าในแขวงจันทรเกษม
เป็นการแสดงงานกลุ่มรอบ Final ของนักศึกษาภาคค่ำกลุ่มเรียน 201 ARTD3302
โดยมีพี่วิษณุมาเยี่ยมชมดูงานที่กลุ่ม Project One ออกแบบให้ทางร้านโตเกียวหลัง ม. ด้วย










วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สรุปการทำงานกลุ่ม Project 1 และแบบสอบถาม

โครงการออกแบบเพื่อชุมชนโครงการ : การศึกษาและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟฟิกบรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการสินค้าในเขต ซอยเสือใหญ่ เขต จันทรเกษม ร้านขนมโตเกียวหลังม. รายวิชาออกแบบกราฟฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ภาคเรียนที่ 1/2556
สรุปการทำงานในรูปแบบ Issuu
แบบสอบถามกลุ่ม Project 1


วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เตรียมงานสอบ Final กลุ่ม1 โครงการออกแบบเพื่อชุมชนโครงการ

การศึกษาและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟฟิกบรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการสินค้าในเขต ซอยเสือใหญ่ เขต จันทรเกษม ร้านขนมโตเกียวหลังม. รายวิชาออกแบบกราฟฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ภาคเรียนที่ 1/2556 











    ข้อมูลทั้งหมดถูกจัดเตรียมเอาไว้เพื่อที่จะนำไปเข้าสอบวันที่ 28 ส.ค.56 นี้




วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สอบปฏิบัติกลางภาคเรียน


สอบปฏิบัติกลางภาคเรียน

การนำเสนอแนวทางการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่
          ภายใต้โครงการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าของผู้ประกอบการสินค้าในแขวงจันทรเกษม : ร้านโตเกียวหลัง ม. ซอยรัชดา 36 สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 

              












การเรียนสัปดาห์ที่5

โครงการออกแบบเพื่อชุมชน (ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว)


โครงงาน : การศึกษาและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าของผู้ประกอบการสินค้าในแขวงจันทรเกษม : ร้านโตเกียวหลัง ม. ซอยรัชดา 36 รายวิชาออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ภาคเรียนที่ 1/2556

บรรจุภัณฑ์ที่มอบให้ทีมงาน เพื่อทำการศึกษา วิเคราะห์ วิพากษ์  วิจารณ์ และศึกษาเป็นต้นแบบตัวอย่างผลิตภัณฑ์จริงผลิตภัณฑ์เป็นกระดาษ ลักษณะกล่องสี่เหลี่ยมไม่บางมากเท่าไหร่ สีขาว ไม่มีฟ้อนต์ และโลโก้ใดๆ ดูเรียบและไม่มีจุดขาย ความน่าสนใจใดๆขนาด 100 แกรม ทนความร้อนได้ไม่มากและถ้าโดนน้ำมากก็จะเปื่อยได้เป็นลักษณะเปิดโล่งทำให้มีอากาศสามารถผ่านเข้าไปในขนมโตเกียวได้ทำให้ตัวขนมโตเกียวเหี่ยวได้โดยง่ายนั้นเอง พี่เค้าจึงแนะนำให้พัฒนาให้ใหม่โดยให้คำนึกถึงเรื่องคุณภาพของขนมโตเกียวเป็นสำคัญที่สุดเพราะที่ร้านขายเป้นของกินจึงต้องให้ความสำคัญมากที่สุด และเรื่องกล่องนั้นเรื่องลวดลายนั้นเค้าไม่ได้ต้องการมากมายเพราะยังไงลูกค้ากินเสร็จก็ทิ้งทันที จึงอาจจะให้มีรูปโลโก้ร้านที่มันดูเป็นทางการมากกว่านี้จึงให้เรามาพัฒนาออกแบบ แล้วให้เค้ามาเลือก 3 แบบขึ้นไปนั้นเอง

วัสดุภาชนะ
อุปกรณ์หลักก็มีเตาแก๊ส กะทะทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า เกรียงแซะขนม ภาชนะสเตนเลสเพื่อใส่ไส้ขนม ตะแกรง ตะกร้อตีไข่ เป็นต้น
วัสดุประกอบร่วม
ทั้งหมดมี3 ไส้ ไส้กรอก ไส้ครีม และไข่นกกระทา  แล้วอีกอย่างที่เค้าต้องการจะทำแต่ยังขาดบรรจุภัณฑ์นั้นก็คือขนาด จัมโบ้ เพราะถ้าทำขนาดนี้จะต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพราะถ้าใส่กับกล่องอันเก่ามันจะใส่ได้ทีละ 1 ชิ้นทำให้เปลืองกล่องจึงให้เราออกแบบบรรจุภัณฑ์ ใหม่สำหรับขนาดจัมโบ้นี้จะได้ไม่ต้องเปลืองเราจึงออกแบบน่าจะเป็นแบบ สติ๊กให้ลูกค้าใช้ถือเอา

สิ่งที่เจ้าของเขาต้องการให้เราทำให้มีทั้งโลโก้ร้าน และบรรจุภัณฑ์ที่สามารถหยิบ ใช้งานสะดวก ป้องกันสิ่งสกปรก
แผนที่ตั้งสถานประกอบการ
แนวความคิด
อยากทำให้มีดีไซด์ที่สามารถหยิบใช้สะดวก กระทัดรัด บวกกับความแข็งแรง
มีสีสันที่สะดุดตา บรรจุภัณฑ์บางจำพวกอาจเน้นความสะดวกใช้ บางพวกเน้นสวยงาม
แต่เราอยากทำให้บรรจุภัณฑ์มีเอกลักษณ์ที่เข้ากับชื่อร้าน ความทันสมัย
โลโก้ร้านจะเน้นรูปภาพการแสดงอารมณ์บงบ่องความรู้สึกต่างๆ

ที่มาของรูปเชฟ

บรรจุภัณฑ์เป็นถาดกระดาษสีขาวไม่มีลวดลายมีรอยพับมุมด้านข้าง ด้านบนดีไซน์รูปทรงแบบเว้า โค้ง หรือแบบลูกคลืน แต่ยังดูเรียบง่ายเกินไป มีลักษณะเป็นกระดาษ 100 ปอนด์ขุ่นมีอยู่ 2 ขนาดแล้วสิ่งที่ทำให้เป็นเป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมนั้นก็คือการใช้เทคนิคสอดกระดาษเป็นล็อคทำให้ตัวกล่องนั้นแน่นไม่หลุดได้ง่ายๆ


การเรียนสัปดาห์ที่4

โครงการออกแบบเพื่อชุมชน

โครงงาน : การศึกษาและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าของผู้ประกอบการสินค้าใน
แขวงจันทรเกษม : ร้านโตเกียวหลัง ม. ซอยรัชดา 36 รายวิชาออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ภาคเรียนที่ 1/2556


ขั้นตอนที่ 1 ส.1 สืบค้นข้อมูล
1.ข้อมูลพื้นฐาน ผู้ประกอบการ.................................................................................................
  ชื่อ /กลุ่ม/ผู้ให้สัมภาษณ์ ร้านโตเกียวหลังมอ  ชื่อผู้มีอำนาจตัดสินใจ นายวิษณุ ชัยบันดาล







บันทึก ชื่อ-สกุล ของ
ผู้ประกอบการ
ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์และ อีเมล E-mail
นายวิษณุ ชัยบรรดาล
ที่อยู่: ซ.รัชดา36
โทร: 085-227-3417
E-mail: chivatip_chi@hotmail.com  
ประเภทสินค้า
สถานะของผลิตภัณฑ์

โตเกียว
วิธีการจัด-วางจำหน่าย-จัดตั้งแสดงสินค้า ณ จุดขาย
วางไว้บนตะแกรงด้านหน้า 3ไส้ และมีป้ายชื่อสินค้าวางติดไว้ด้านหน้า
ความดี-สรรพคุณ-วิธีใช้ ผลิตภัณฑ์
รับประทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีไส้ให้เลือก 3 อย่าง ไส้ครีม ไข่นกกระทา และไส้กรอก
ข้อมูลทั่วไป ประวัติ
ข้อมูลการผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์
เปิดกิจการได้ประมาณเดือนกว่า เปิดทุกวัน
เปิดเวลา 09:00-20:00 น.
ประเภทอาหารว่าง ของทานเล่น
บรรจุภัณฑ์เป็นกระดาษ
2. ข้อมูลการตลาดของสินค้า

2.1 การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และการผลิต ในปัจจุบัน คือ เปิดให้บริการสาขาเดียวที่ ซ.รัชดา36
2.2 ราคาจำหน่าย ราคาขาย 3 ชิ้น  10 บาท 7 ชิ้น 20 บาท 3 ไส้ มีไส้ครีม ไส้กรอก และไข่นกกระทา

3.ปัจจุบันสภาพ/ปัญหาที่เกิดขึ้น/ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์

3.1 สภาพปัจจุบัน/ ปัญหาที่เกิดขึ้น/อุปสรรคที่พบปัจจุบันคือ ต้องการภาชนะ บรรจุภัณฑ์แบบใช้สะดวก กระทัดรัด และโล้โก้
   3.2 ผลิตภัณฑ์คู่แข่งทางการค้าในพื้นที่ ตัวอย่าง ร้านเครป และขนมบริเวณใกล้เคียง    
3.3 ความต้องการในการออกแบบพัฒนา ผลิตภัณฑ์เดิม /สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่/ บรรจุภัณฑ์เดิม /รูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ กราฟิกอัตลักษณ์ เช่น โลโก้ ภาพประกอบ การโฆษณา ฯลฯ คือ....
- ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์แปลกใหม่ เป็นที่น่าสนใจมากขึ้น
- ต้องการพัฒนาโลโก้ให้มีความน่าสนใจ และจดจำง่ายกว่าเดิม

การเรียนสัปดาห์ที่2

การออกแบบนามบัตรนี้ทำมาเพื่อเป็นการแนะนำตัวเองให้กับกลุ่มที่เราจะเข้่าไปศึกษาพัฒนาและออกแบบให้กับผู้ผลิตรายย่ิอยในแขวง จันทรเกษม ซอยเสือใหญ่
โดยการออกแบบนามบัตรนั้นจะเป็นเน้นไปที่สีโทนน้ำตาลเป็นหลักเนื่องจากต้องการความพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตัวพื้นหลังหรือแบล็คกราวนั้นจะเป็นรูปกล่องวางเรียงกันโดยเป็นการนำเสนอเพราะว่าเราได้เรียนวิชา การออกแบบกราฟฟิกลงบนบรรจุภัณฑ์ แล้วทำให้ผู้ผลิตรายย่อยที่เราพูดคุยนั้นน่าจะมีความน่าเชื่อถืออยู่บ้างเพราะเราสามารถออกแบบได้โดยตรงและสามารถติดต่อหรือเสนอข้อเพิ่มเติมข้อเสนอะแนะโดยตรงมาถึงเราได้
เพราะเป็นวิชาที่เรียนอยู่ปัจจุบันนั้นเอง นามบัตรของเรานั้นจะมีขนาด 9 x 5.5 ซม. เป็นขนานมาตราฐานของนามบัตรทั่วไปสามารถเก็บได้ง่ายไม่เล็กจนเกินไปทำแล้วมีสีสันที่น่ามองเพราะเป็นสีบานเย็นสบายตาเพราะเป็นการโปรโมทสีของคณะเราเองนั้นเองโดยพิมพ์ด้วยกระดาษแข็งจัดพิมพ์มาประมาน 10 ใบโดยมีขนาดเท่าๆกันเพื่อเก็บได้สะดวก


วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเรียนสัปดาห์ที่1

สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 13 มิถุนายน 2556

สัปดาห์แรกของการเรียนการสอนในรายวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ภาคเรียนที่ 1/2556 
คราวนี้มี 2 กลุ่ม เปิดจำนวนเต็มไว้แค่ 30 คนต่อกลุ่ม กลุ่ม 101 ยังไม่เต็ม(วันที่ 10-6-2556) ผู้ที่จะลงทะเบียนเพิ่มโดยเฉพาะผู้ที่ติด F หรือ Drop ไว้ให้ไปลงเพิ่มในกลุ่ม 101 สำหรับนักศึกษาตกค้างรุ่นให้ไปลงทะเบียนกับกลุ่มภาคนอกเวลาเหลืออีก 1 กลุ่ม อย่าไปแย่งที่เรียนน้องๆ ตามตารางเรียนแจ้งไว้เป็นจันทร์-อังคาร เวลา 8.30-12.20 น. เรียนที่ห้องคอมพิวเตอร์ 323-324 ของคณะมนุษย์ฯ ภาคนอกเวลา เรียนห้องเดิม วันพฤหัสบดี เวลา17.30-20.50 (อาจมีการเปลี่ยนแปลง)
สัปดาห์แรกมีกิจกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานเดิม แต่จะเข้มขึ้นอีก เริ่มด้วย
1.ให้นศ.เข้าอ่านเมนูคำอธิบายรายวิชา และมาตรฐานการเรียนรู้ เล่มเอกสาร มคอ.3 ศึกษาคำอธิบายรายวิชา ศึกษาวัตถุประสงค์ หัวข้อเนื้อหาที่จะต้องเรียนรู้ วิธีการเรียน การร่วมกิจกรรม และดูตารางเวลาเรียน เวลาทำงานของผู้สอน จะได้เข้าใจว่า เรียนวิชานี้แล้วจะได้ความรู้อะไร จะติดต่อผู้สอนและต้องให้ความร่วมมือในการเข้าเรียนและทำกิจกรรมเยี่ยงใดบ้าง
2.ให้ตรวจสอบ แก้ไข หรือเพิ่มรายชื่อ และกรอกข้อมูลอีเมลส่วนตัว(@gmail.com)เท่านั้น แจ้งเบอร์โทรศัพท์ และสร้างเว็บบล็อกส่วนตัวตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้ โดยแจ้ง-ทำลงในแบบบันทึกและประเมินผลการเรียน (ไฟล์ Google Spreadsheet) ที่สร้างให้คลิกเข้าทำ ไว้ให้แล้ว กรอกข้อมูลให้ตรงกับกลุ่มที่เรียนและรายชื่อที่ลงทะเบียน กรอกลงช่องล่างต่อเพิ่มสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนภายหลัง ทำให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์และเริ่มบันทึกบล็อกนับแต่สัปดาห์แรกนี้
ภาคปกติกลุ่ม101 เรียนวันจันทร์ คลิกเข้าทำที่นี่
ภาคปกติกลุ่ม102 เรียนวันอังคาร คลิกเข้าทำที่นี่
ภาคนอกเวลา กลุ่ม 201 เรียนวันพฤหัสบดี คลิกเข้าทำที่นี่
3. การสมัครเป็นผู้เรียนในระบบอีเลิร์นนิ่งที่ www.clarolinethai.info และที่ http://chandraonline.chandraonline.ac.th/claroline เตรียมสอบก่อนเรียนในสัปดาห์ที่สอง
4.ให้นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลาให้เข้าทำแบบสำรวจก่อนเรียน
ARTD3302:แบบสำรวจศักยภาพและความพึงพอใจของผู้เรียน ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ตามเกณฑ์มาตรฐานผลการเรียนรู้หลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรม มจษ. ภาคเรียนที่1/2556 ทำแบบสำรวจ คลิกที่นี่

เปิดให้ทำถึงวันที่ 18 มิ.ย.12.00 น.5.สร้างเว็บบล็อกของ Blogger.com ตามรูปแบบที่กำหนดให้ คือใช้รหัสวิชานำ- เช่น artd3302-prachid ใช้ template blog เป็นแบบ Live on Blog ตั้งหน้าแสดงเป็น 2 คอลัมน์ ความกว้างเว็บบล็อก entire blog= 980 right side bar =330 เลือกภาพพื้นฺbackground imageจากหมวด เทคโนโลยี จัดวาง alingment =Center เป็นแบบกึ่งกลางระดับบน ไม่จัดเรียงภาพพื้นหลัง(Don't tile)

ตั้งค่าใส่คำอธิบายเว็บบล็อกเป็น " เว็บบล็อกสรุปผลการเรียนรู้ในรายวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ของ....(ชื่อเจ้าของบล็อก)" และเริ่มบันทึกสาระความรู้ที่ได้ลงบล็อกทันที ว่าได้ทำได้ความรู้จากการที่อาจารย์สั่งงาน-สอนความรู้ในชั่วโมงเรียนอย่างไรบ้างเรียนและฝึกปฏิบัติ-ทำตามแล้วสรุปผลการเรียนรู้ให้ได้ ความยาวของเนื้อหาแต่ละโพสต์แต่ละสัปดาห์ ต้องไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด (คะแนนกิจกรรมนี้ดูจากวันที่ที่โพสต์เนื้อหาลงบล็อกในแต่ละสัปดาห์)
5.เตรียมกิจกรรมแปลสรุปข่าวสารทางเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ 
ให้หาข่าวสารความรู้ ความก้าวหน้าทางการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ จากเว็บบล็อกเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ แปลสรุปเป็นไทย ใส่ใน Google Doc เริ่มรายงานหน้าชั้นในสัปดาห์ที่ 3( 26 มิ.ย.นี้) เรียงตามรายชื่อ ครั้งละ 3 คน ตอนต้นชั่วโมงเรียน พลาดแล้วไม่ย้อนหลัง
ปล.ในสัปดาห์ที่สอง จะมีการสอบวัดความรู้-ปฏิบัติก่อนเรียน ห้ามพลาด ห้ามขาด ห้ามลา
6.กิจกรรมสืบค้นความรู้เป็นการบ้านวันนี้ ให้สืบค้นความหมายของคำว่า
-1.การออกแบบกราฟิก(Graphic Design)
-2.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)
โดยทำลงในโพสต์บล็อกของตนเอง อย่างน้อยคำละ 3 ความหมาย พร้อมอ้างอิงที่มาอย่างถูกต้องตามหลักการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการ (คลิกดู อ่าน ดาวน์โหลดตัวอย่างการเขียน ได้จากที่นี่) แล้วสรุปเป็นความหมายเดียว(เขียนสรุปด้วยตนเอง)ว่า
สรุปความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์หมายถึง......

ปล.ผู้ไม่เข้าเรียนครั้งแรกและผู้ลงทะเบียนเพิ่มภายหลัง เมื่ออาจารย์อนุญาตให้ลงเพิ่มแล้ว ต้องติดตามงาน ทำงานตามกำหนดเวลาที่วางไว้ จะนำมาอ้างว่าไม่ส่งงานเพราะพึ่งจะลงทะเบียนเรียนไม่ได้ ไม่ถือว่าเป็นเงื่อนไขในการประเมินผลการเรียน

ในการปรับพื้นฐานทักษะการบริหารจัดการความรู้ (Basic Information Management Skill) การสื่อสารส่วนบุคคลและการสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นระบบเดียวกัน (Personal Communication Chanel and Social Network System Skill) โดยกำหนดเป็นข้อตกลงให้ทุกคนต้องฝึกฝนทักษะปฏิบัติการ การรับรู้และรับส่งข่าวสารด้วยการใช้งานเครื่องมือฟรีจากระบบออนไลน์(Cloud Management Tool)ที่ได้มาตรฐานสากลคือจากระบบบริการของ Google เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนในทุกมิติ การให้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม(Workgroup) โดยให้แบ่งกลุ่มทำงานร่วมกัน หรือทำงานเดี่ยวอย่างเป็นระบบต่อไป

กิจกรรมสืบหาข้อมูลในสัปดาห์แรก

การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

    การออกแบบกราฟฟิกหมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะ ส่วนประกอบภายนอกของ
โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถสื่อสาร สื่อความหมาย ความเข้าใจ (to communicate)
ในอันที่จะให้ผล ทางจิตวิทยา ต่อผู้อุปโภค บริโภคเช่น ให้ผลในการดึงดูด ความสนใจ 
การให้มโนภาพถึงสรรพคุณ ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ยี่ห้อผลิตภัณฑ์ผู้ผลิต ด้วย
การใช้วิธี การออกแบบ การจัดวางรูป ตัวอักษร ถ้อยคำ โฆษณา เครื่องหมาย
และสัญลักษณ์ ทางการค้า แล ะอาศัยหลักศิลปะการ จัดภาพให้เกิดการประสาน
กลมกลืน กันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ ที่ได้วางไว้ ดังภาพที่ 8


  การออกแบบกราฟฟิก บรรจุภัณฑ์ สามารถสร้างสรรค์ได้ทั้งลักษณะ 2 มิติ 
บนพื้นผิวแผ่นราบของวัสด เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะอาบดีบุก หรือ
อลูมิเนียม โฟมฯลฯ ก่อนนำวัตถุต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบกัน เป็นรูปทรงของ
บรรจุภัณฑ์ ส่วนในลักษณะ 3 มิติก็อาจทำได้ 2กรณีคือ ทำเป็นแผ่นฉลาก (label) 
หรือแผ่นป้าย ที่นำไปติดบนแผ่นบรรจุภัณฑ์ประเภท rigid forms ที่ขึ้นรูปมา
เป็นภาชนะบรรจุสำเร็จมาแล้ว หรืออาจจะสร้างสรรค์บนผิวภาชนะบรรจุ รูปทรง 3มิติ
โดยตรงก็ได้เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติกเป็นต้น ซึ่งลักษณะของการออกแบบกราฟฟิก
บรรจุภัณฑ์นี้ส่วนใหญ่มักถือตามเกณฑ์ของเทคนิคการพิมพ์ในระบบต่างๆเป็นหลัก

    การออกแบบกราฟฟิก ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการบรรจุภัณฑ์เป็นอย่าง
มาก เพราะว่าเป็น ส่วนประกอบที่สำคัญ เหนือไปจากการบรรจุและการป้องกัน
ผลิตภัณฑ์โดยตรงทำให้บรรจุภัณฑ์ ได้มีหน้าที่ เพิ่มขึ้นมา โดยที่ลักษณะกราฟฟิก 
บรรจุภัณฑ์และสลากได้แสดงบทบาทหน้าที่สำคัญ อันได้แก่

1. การสร้างทัศนคติที่ดีงามต่อผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต กราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์
และแผ่นสลาก ได้ทำหน้าที่ เปรียบเสมือนสื่อ ประชาสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์ในอันที่
จะเสนอต่อผู้อุปโภค บริโภคแสดงออกถึง คุณงานความดีของผลิตภัณฑ์ และความ
รับผิดชอบที่ ผู้ผลิตมีต่อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ โดยที่ลักษณะทาง กราฟฟิก จะสื่อความหมาย
และปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ การนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ ตลอดทั้งสร้างความต่อเนื่อง
ของการใช้ การเชื่อถือในคุณภาพ จรกระทั่งเกิด ความศรัทธา เชื่อถือในผู้ผลิตใน
ผลผลิตที่สุดด้วย




2. การชี้แจงและบ่งชี้ให้ผู้บริโภคทราบถึง ชนิดประเภทของผลิตภัณฑ์ ลักษณะ
กราฟฟิกเพื่อ ให้สื่อความหมาย หรือถ่ายทอดความรู้สึกได้ว่า ผลิตภัณฑ์คืออะไร และ
ผู้ใดเป็นผู้ผลิตนั้น มักนิยมอาศัย ใช้ภาพและอักษรเป็นหลัก แต่ก็ยังอาศัยองค์ประกอบ
อื่น ๆ ในการออกแบบ เช่น รูปทรง เส้น สี ฯลฯ ซึ่งสามารถสื่อให้เข้าใจหมายหมายได้
เช่น เดียวกับการใช้ภาพ และข้อความอธิบายอย่างชัดเจน ตัวอย่างงานดังกล่าวนี้มีให้
เห็นได้ทั่วไป และที่เห็นชัดคือ ผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ ที่บรรจุอยู่ในภาชนะที่ คล้ายคลึง
กัน ดังเช่น เครื่องสำอาง และยา เป็นต้น แม้บรรจุอยู่ในขวดหรือ หลอดรูปทรงเหมือนกัน
ผู้บริโภค ก็สามารถชี้ ได้ว่าอันใดคือเครื่องสำอางอันใดคือยา ทั้งนี้ก็โดนการสังเกตจาก
กราฟฟิก เช่น ลักษณะตัวอักษร หรือ สีที่ใช้ซึ่งนักออกแบบจัดไว้ให้ เกิดความรู้สึกผิด
แผกจากกัน เป็นต้น 

3. การแสดงเอกลักษณ์เฉพาะ สำหรับผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการลักษณะ
รูปทรงและโครงสร้าง ของบรรจุภัณฑ์ ส่วนใหญ่มักมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ใน
ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภททั้งนี้ เพราะกรรมวิธีการบรรจุภัณฑ์ ใช้เครื่องจักรผลิตขึ้นมา
ภายใต ้มาตราฐานเดียวกัน ประกอบกับผู้แข่งขัน ในตลาดมีมาก ดังที่เห็นได้ จาก
ผลิตภัณฑ์อาหาร สำเร็จรูปที่ผลิตและจำหน่ายอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งมี
ลักษณะรูปทรง และโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันมาก เช่น อาหารกระป๋อง ขวดเครื่องดื่ม
ขวดยา ซองปิดผนึก( pouch ) และกล่องกระดาษเป็นต้น บรรจุภัณฑ์
ต่าง ๆ เหล่านี้มักมีขนาด สัดส่วน ปริมารการบรรจุ ที่เหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน
ดังนั้นการออกแบบกราฟฟิก จึงมีบทบาทหน้าที่แสดงเอกลักษณ์ หรือบุคลิกพิเศษ
ที่เป็นลักษณะเฉพาะของตน ( brand image ) ของผลิตภัณฑ์ และ ผู้ผลิตให้เกิด
ความชัดเจน ผิดแผกจากผลิตภัณฑ์คู่แข่งขัน เป็นที่สะดุดตา และเรียกร้องความ
สนใจ จากผู้บริโภคทั้งเก่าและใหม่ให้จดจำ ได้ตลอดจนซื้อได้โดยสะดวกและรวดเร็ว 

4. การแสดงสรรพคุณและวิธีใช้ ของผลิตภัณฑ์เป็นการให้ข่าวสารข้อมูล 
ส่วนประสมหรือส่วน ประกอบที่เกี่ยว ข้องกับผลิตภัณฑ์ภายในว่ามีคุณสมบัติ 
สรรพคุณและวิธีการใช้อย่างถูหกต้องอย่างไรบ้าง ทั้งนี้โดยการอาศัย การออกแบบ
การจัดวาง( lay -out ) ภาพประกอบข้อความสั้นๆ( slogan)ข้อมูลรายละเอียด ตลอดจน
ตรารับรอง คุณภาพและอื่น ๆ ให้สามารถเรียกร้องความสนใจ จากผู้บริโภคให้
หยิบยกเอาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาพิจารณา เพื่อตัดสินใจเลือกซื้อ การออกแบบกราฟฟิค
เพื่อแสดง บทบาทในหน้าที่นี้จึงเปรียบจึงเปรียบเสมือน การสร้างบรรจุภัณฑ์ให้เป็น 
พนักงานขายเงียบ ( the silent salesman )ที่ทำหน้าที่โฆษนา ประชาสัมพันธ์ แทนคน 
ณ บริเวณจุดซื้อ( point of purchase ) นั้นเอง


    บรรจุภัณฑ์เป็นตัวแทนของกระบวนการส่งเสริมการขายทางด้านการตลาด 
ณ จุดขายที่สามารถจับต้องได้ เปรียบเสมือนกุญแจ ดอกสุดท้ายที่ จะไขผ่าน
ประตูแห่งการตัดสินใจซื้อ บรรจุภัณฑ์สามารถ ทำหน้าที่เป็นสื่อโฆษนา ได้อย่าง
ดีเยี่ยม ณ จุดขาย เพราะบรรจุภัณฑ์เป็นงานพิมพ์ 3 มิติและมีด้านทั้งหมดถึง 6 ด้าน 
ที่จะสามารถใช้เป็นสื่อโฆษณา ได้ดีกว่าแผ่นโฆษณาที่มีเพียง 2 มิติหรือด้านเดียว 

    นักออกแบบบางท่าน ได้เปรียบเทียบการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ว่าเปรียบ
เสมือนร่างกายของมนุษย์ เริ่มต้นจากรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ อันได้แก่ ทรงสี่เหลี่ยม
ของกล่อง ทรงกลมของขวด หรือกระป๋อง เป็นต้น รูปทรงเหล่านี้เปรียบได้กับตัว
โครงร่างกายมนุษย์ สีที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์เปรียบ เสมือนผิวหนังของมนุษย์ 
คำบรรยายบนบรรจุภัณฑ์ เปรียบได้กับปากที่กล่าวแจ้งแถลงสรรพ คุณของสินค้า
การออกแบบทั้งหมด ของบรรจุภัณฑ์จึงเปรียบเสมือนระบบการทำงานของ
มนุษย์ ในการออกแบบนักออกแบบ จะนำเอาองค์ประกอบ ต่าง ๆ อันได้แก่ 
กลยุทธ์การตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย และสภาวะคู่แข่งขันมาเป็นแนวความคิด 
ในการออกแบบ ให้สนองกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ด้วยเหตุนี้ ในแง่ของนักออกแบบ
บรรจุภัณฑ์ การออกแบบอาจจะเขียน เป็นสมการอย่างง่าย ๆ ได้ดังนี้

        การออกแบบ = คำบรรยาย + สัญลักษณ์ + ภาพพจน์
                Design = Words + Symbols + Image

    ในสมการนี้ คำบรรยาย และสัญลักษณ์มีความเข้าใจ ตามความหมายของคำ ส่วน
ภาพพจน์นั้น ค่อนข้าง จะเป็นนามธรรม เนื่องจากการออกแบบภาพพจน์เป็นศิลปะอย่าง
หนึ่ง ซึ่งอาจแสดงออกได้ด้วย จุด เส้น สี รูปวาด และรูปถ่าย ผสมผสานกัน ออกมาเป็น
พาณิชย ์ศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ด้วยหลักการง่าย ๆ 4ประการ คือ SAFE ซึ่งมีความหมายว่า

            S = Simple เข้าใจง่ายสบายตา
            A = Aesthetic มีความสวยงาม ชวนมอง
            F = Function ใช้งานได้ง่าย สะดวก
            E = Economic ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม